วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Thawaranukul MEP VDO. Presentation

https://www.youtube.com/watch?v=g-5Hx0Q12zY&feature=youtu.be


โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นภาษาอังกฤษ
         Mini  English  Program (MEP) 
โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม ปีการศึกษา ๒๕๕๙
-----------------------------------------------------------------------
๑. หลักการและเหตุผล
       ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษากลางที่ใช้สื่อความหมายไปเกือบทั่วโลก ทั้งในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่จะเข้าถึงแหล่งวิทยาการต่างๆ และค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ ซึ่งปัจจุบัน มีคนทั่วโลกใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารถึงจำนวน ๒,๐๐๐ ล้านคน หรือ ๑ ใน ๓ ของประชากรของโลก ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมให้ประชากรไทยได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่จะสื่อสารได้ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ และการประกอบอาชีพ ตลอดจนการเจรจาต่อรองสำหรับการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสังคมในเวทีสากล ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เข้าร่วมประชาคมอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อมๆกัน ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญยิ่งสำหรับคนไทยในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อให้การศึกษาสอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ และการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับสากล เป็นผู้นำที่ดี มีสติปัญญา ศักยภาพ คุณภาพชีวิตและค่านิยมที่ดี รวมทั้งมีความรับผิดชอบ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และมีศักยภาพเป็นพลโลก (World citizen) เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพ  เป็นการต่อยอดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เป็นมาตรฐานชาติ คือ การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเป็น คนดี คนเก่งและมีความสุข ตามปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCOโดยในศตวรรษที่ 21 ทุกประเทศได้มีการพัฒนาและใช้หลักสูตรการศึกษาที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้เรียนเพื่อรู้ (Learn to know ) เรียนเพื่อเป็น ( Learn to be) เรียนเพื่อทำ ( Learn to do ) เพื่อสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติและ Learn to live together เพื่อสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลโลก ให้ผู้เรียนมีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ มีสมรรถนะ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มีคุณธรรม มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ สามารถเป็นผู้นำที่ดีของสังคม
โรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียนรวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างโอกาสสำหรับเยาวชนในจังหวัดสมุทรสงคราม จึงได้จัดทำโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภาษาอังกฤษขึ้น

๒. วิสัยทัศน์
ห้องเรียน MEP มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศและก้าวสู่ความเป็นสากลอย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล 
๓.วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารในระดับสากล
๒. เพื่อให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถพัฒนาตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
๓.  สามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้และมีจิตสํานึกต่อตนเอง ชุมชนและสังคมโลกโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ
๔. เพื่อสนับสนุนให้ครูอาจารย์และบุคลากรของโรงเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
๕. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เต็มตามศักยภาพโดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
๖. เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ มีศักยภาพในเวทีการแข่งขันของโลก เป็นสมาชิกประชาคมโลก ได้อย่างเท่าเทียมและก้าวสู่ความเป็นสากล อย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล


๔. ความมุ่งมั่น ตั้งใจ
         ๑. พัฒนาระบบบริหารโครงการเป็นแบบมืออาชีพโดยใช้หลักคิด ความมีเอกภาพทางนโยบายและหลากหลายในการปฏิบัติ
         ๒. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของครูไทยให้สามารถสอนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นภาษาอังกฤษ ได้เทียบเคียงกับเจ้าของภาษา
         ๓. ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ สร้างระบบเครือข่ายแบบทวิภาคีและพหุภาคีกับสถานศึกษาอื่นๆ
         ๔. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามความถนัด ความสามารถแต่ละรายบุคคล เป็นลักษณะจัดการศึกษาเฉพาะคน
         ๕. ส่งเสริมให้เกิดเป็นนวัตกรรมการบริหารโครงการที่เป็นต้นแบบได้ (Best Practice)

๕. การสร้างความเข้าใจให้บุคลากรในโรงเรียนและชุมชน
         ๑. ประชุมชี้แจง
         ๒. มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
         ๓. จัดทำแผนประชาสัมพันธ์ อย่างหลากหลาย
         ๔. ใช้ระบบเครือข่ายผู้ปกครอง
         ๕. ใช้ระบบแนะแนว
         ๖.  สร้างกระบวนการติดตามตรวจสอบและรายงาน

๖. ค่าเป้าหมาย
          ๓.๑ เป้าหมายด้านปริมาณ
ในปีการศึกษา ๒๕๖๐  รับนักเรียนห้องเรียน MEP
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จํานวน ๑ ห้องเรียน 
นักเรียนจำนวน ๓๐ คน
                    
๓.๒ เป้าหมายด้านคุณภาพ
         1. นักเรียนในโครงการได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ทักษะความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับสากลมีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถพัฒนาตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้สามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้และมีจิตสำนึกต่อตนเอง ชุมชนและสังคมโลก
         2.นักเรียนในโครงการเป็นผู้มีทักษะในการสื่อสารภาษาต่างประเทศไม่น้อยกว่า ๒ ภาษา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ มีศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลกได้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างองค์ความรู้และแสวงหาความรู้ได้อย่างชาญฉลาดและรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อก้าวสู่ความเป็นพลโลก (World Citizen)

๗. กิจกรรมและการดำเนินงาน
                              กิจกรรม
      ระยะเวลา
      ผู้รับผิดชอบ
กิจกรรมที่ ๑  เตรียมความพร้อม
๑.๑ ประชุมวางแผน แต่งตั้งคณะทำงานโครงการ
จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นภาษาอังกฤษ
๑.๒ สร้างความเข้าใจและเผยแพร่โครงการห้องเรียน MEP ให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนรับทราบ
๑.๓ แต่งตั้งมอบหมายผู้รับผิดชอบและจัดทำโครงสร้างการบริหารโครงการ
๑.๔ สำรวจวิเคราะห์ข้อมูลและบริบทในการที่จะดำเนินงานตามโครงการ
๑.๕ เขียนโครงการ

กิจกรรมที่ ๒ การเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่
๒.๑  ออกแบบห้องเรียน 
๒.๒ ปรับปรุงห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ เพื่อรองรับการเปิดห้องเรียน MEP
๒.๓ จัดวัสดุ ครุภัณฑ์  สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน 
๒.๓ วางแผนอัตรากำลัง ครู และบุคลากร ที่จะดำเนินงานตามโครงการ
๒.๔ พัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านอื่นๆที่จะสนับสนุนการเปิดห้องเรียนMEP
๒.๕ ฝึกอบรมครูที่สอน และศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีประสบการณ์ด้านห้องเรียน MEP เพื่อเตรียมความพร้อม

กิจกรรมที่ ๓ การเตรียมการด้านหลักสูตรและการวัดผลประเมินผล
๓.๑ ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
๓.๒ จัดทำหลักสูตรโดยปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการ
๓.๓ ประชาพิจารณ์หลักสูตรแผนการเรียน MEP
๓.๔ ปรับปรุงและจัดทำหลักสูตรแผนการเรียน MEP ฉบับสมบูรณ์
๓.๕ วางแผนกระบวนการจัดการเรียนรู้  การจัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๓.๖ จัดทำแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายตรงตามสภาพจริงและมีประสิทธิภาพ
๓.๗ จัดเตรียมเอกสารทั้งทางด้านหลักสูตรการวัดการประมวลผล ประกอบด้วย คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ เอกสารการวัดประเมินผลและสิ่งอำนวยความสะดวก

กิจกรรมที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการ
๔.๑ ประชาสัมพันธ์โดยสื่อของโรงเรียน เช่น เว็ปไซต์ เฟสบุ๊ค  วารสารส่วนบุญฯ
๔.๒ ประชาสัมพันธ์โดยสื่อท้องถิ่น เช่น วิทยุท้องถิ่น วิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและการกระจายเสียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๔.๓ ประชาสัมพันธ์โดยเอกสารผ่านหน่วยงานราชการ  ภาคเอกชน
๔.๔ การออกแนะแนวให้กับโรงเรียนต่างๆได้รับทราบ
๔.๕ การเยี่ยมบ้านนักเรียน

กิจกรรมที่ ๕  ดำเนินการรับนักเรียน
๕.๑ ประชุมวางแผนการรับสมัครแนวทางการคัดเลือก
นักเรียนเข้าร่วมโครงการ 
๕.๒ ประชาสัมพันธ์ โครงการฯ และการรับสมัคร
๕.๓ รับสมัครนักเรียนเข้าร่วมโครงการ ฯ
๕.๔ ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียน
๕.๕ ประชุมชี้แจงรายละเอียดแก่ผู้ปกครอง

กิจกรรมที่ ๖  ปรับพื้นฐาน
๖.๑ ประชุมผู้ปกครองนักเรียนชี้แจงบาทบทของผู้ปกครองในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียน  การจัดการเรียนการสอนและร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์สำหรับนักเรียน
๖.๒ ปฐมนิเทศนักเรียน ด้านการเรียนการสอน การอยู่ใน
สังคมนักเรียนโครงการ MEP และสังคมลูกส่วนบุญฯ
๖.๓ จัดกิจกรรมปรับพื้นฐานด้านวิชาการ 
๖.๔ ประเมินผลการจัดกิจกรรมด้านวิชาการและความ
พึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครอง


กิจกรรมที่ ๗  จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
๗.๑ วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคลด้านความรู้ความสามารถ  ด้านครอบครัวและสังคม
๗.๒จัดการเรียนการสอนเน้นนักเรียนเป็นสำคัญเน้นการใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
๗.๓ ประเมินผลตามศักยภาพและรายงานผลให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง
๗.๔ ซ่อมเสริมและพัฒนานักเรียนตามศักยภาพ
๗.๕ สรุปและรายงานผลการจัดการเรียนการสอนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรายบุคคลและรายกลุ่ม

กิจกรรมที่ ๘  ทดสอบความรู้ความสามารถของนักเรียน
๘.๑ ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๘.๒ นักเรียนสมัครเข้าร่วมทดสอบ
๘.๓ ทบทวนและติวเข้มก่อนการทดสอบ
๘.๔ ทดสอบความรู้
๘.๕ รายงานผลให้ผู้ปกครองทราบ
๘.๖ นำผลการทดสอบมาพัฒนานักเรียนตามศักยภาพเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนแต่ละคน

กิจกรรมที่ ๙  จัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์
๙.๑ ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม
๙.๒ จัดกิจกรรมโดยใช้แหล่งเรียนรู้และวิทยากรทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
๙.๓ ประเมินและสรุปผลการจัดกิจกรรม
๙.๔ รายงานผลการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่ ๑๐  จัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐.๑ ครูและนักเรียนวิเคราะห์ปัญหา วางแผนรูปแบบการจัดกิจกรรม
๑๐.๒ ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมการ
๑๐.๓ จัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐.๔ ประเมินผลและสรุปผลการจัดกิจกรรม
๑๐.๕ รายงานผลการจัดกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑๑  การนิเทศติดตาม
๑๑.๑ กำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการนิเทศติดตาม
๑๑.๒ นิเทศการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์
๑๑.๓ ประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างครูชาวต่างชาติและครูไทยเป็นระยะ ๆ
๑๑.๔ ส่งเสริม พัฒนาและให้ขวัญและกำลังใจแก่ครู
กิจกรรมที่ ๑๒  การสรุปผลและการประเมินโครงการ
๑๒.๑ รวบรวมข้อมูลจากการจัดโครงการ นำมาวิเคราะห์และประเมินค่าผลการดำเนินการ
๑๒.๒ สรุปข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขและสิ่งที่ควรได้รับการพัฒนา
๑๒.๓ ประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและนักเรียนเตรียมนำเสนอผลงานของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบ
๑๒.๔ ประชุมผู้ปกครองเพื่อรายงานผลการดำเนินงานนักเรียนนำเสนอผลงานและความก้าวหน้าของตนเอง
๑๒.๕ ผู้ปกครองร่วมประเมินและแสดงความคิดเห็นในการ
ดำเนินงานตามโครงการ และร่วมวางแผนพัฒนาการดำเนินโครงการในปีต่อไป
๑๒.๖ สรุปและกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการฯ
๑๒.๗  รายงานข้อมูลเสนอให้โรงเรียน เขตพื้นที่ ผู้ปกครองและสาธารณชนรับทราบ
      
มิถุนายน –สิงหาคม ๒๕๕๙








มกราคม ๒๕๖๐









สิงหาคม ๒๕๕๖- กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗














พฤศจิกายน ๒๕๕๙
-มกราคม ๒๕๖๐








ตามที่ สพฐ. 
กำหนด





พฤษภาคม ๒๕๕๗










พฤษภาคม ๒๕๕๙
-มีนาคม ๒๕๖๐








ตุลาคม ๒๕๕๗
และเมษายน ๒๕๕๘






พฤษภาคม ๒๕๕๗
-มีนาคม ๒๕๕๘




มีนาคม ๒๕๕๘






พฤษภาคม ๒๕๕๗
-มีนาคม ๒๕๕๘






ตุลาคม ๒๕๕๗
และมีนาคม ๒๕๕๘


  ฝ่ายวิชาการและ
  คณะทำงานฯ







คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
    ได้รับแต่งตั้ง








คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
    ได้รับแต่งตั้ง









 คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
    ได้รับแต่งตั้ง






คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
    ได้รับแต่งตั้ง




คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
    ได้รับแต่งตั้ง



คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
ได้รับแต่งตั้ง







คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
    ได้รับแต่งตั้ง





คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
    ได้รับแต่งตั้ง



คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
    ได้รับแต่งตั้ง




คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
    ได้รับแต่งตั้ง





คณะทำงานและ
คณะกรรมการที่
    ได้รับแต่งตั้ง




๕. งบประมาณ
การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา•อัตราค่าธรรมเนียมการเรียน /ค่าใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มสำหรับการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเหมาะสมกับแผนการใช้จ่ายเงิน ภาคเรียนละ ไม่เกิน  ๑๗,๕๐๐ บาท/คน/ภาคเรียน

๗. การประเมินผล
        ตัวชี้วัดความสำเร็จ
       วิธีการประเมิน
          เครื่องมือที่ใช้
๑.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
การทดสอบ
แบบทดสอบ
๒.นักเรียนมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารในระดับสากล
การสังเกต
การสัมภาษณ์
แบบสังเกต
แบบสัมภาษณ์
๓.นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถ
พัฒนาตนให้เป็นบุคคลแห่ง การเรียนรู้
การสังเกต
การทดสอบ การสอบถาม
แบบสังเกต
แบบทดสอบ แบบสอบถาม
๔.สามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้และมี
จิตสํานึกต่อตนเอง ชุมชนและสังคมโลกโดยใช้ภาษาอังกฤษ เป็นสื่อ
การสังเกต
การสัมภาษณ์
แบบสังเกต
แบบสัมภาษณ์
๕.ครูอาจารย์และบุคลากรของโรงเรียนได้
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
การนิเทศติดตาม
แบบนิเทศติดตาม
๖.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เต็มตามศักยภาพโดย เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
การประเมิน
ความพึงพอใจ
แบบประเมิน
ความพึงพอใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑.   นักเรียนมีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารในระดับดี
๒.   นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถพัฒนาตนให้เป็นบุคคลแห่ง การเรียนรู้
๓.   นักเรียนมีจิตสํานึกต่อตนเอง ชุมชนและสังคมโลก
๔.   ครูอาจารย์และบุคลากรของโรงเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
๕.    โรงเรียนได้พัฒนาคุณภาพการศึกษาเต็มตามศักยภาพโดย เปิดโอกาสให้ ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๖.    นักเรียนจะมีศักยภาพและความพร้อมสู่ความเป็นพลโลกได้